อาการผิดปกติต่างๆ ของหัวใจ ที่ควรรีบปรึกษาแพทย์ เช่น
- ใจสั่น
- แน่นหน้าอก จุกลิ้นปี่ หายใจไม่ออก
- เหนื่อยง่ายหรืออยู่เฉยๆก็เหนื่อย
- หายใจลำบากเมื่อนอนหงาย หรือตอนออกกำลังกาย เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม
- ใจเต้นเร็วผิดปกติหรือรู้สึกใจเต้นช้ากว่าปกติ
- น้ำหนักตัวเพิ่ม เท้าหรือข้อเท้าบวมมากขึ้น
- เหนื่อยง่ายตัวเย็น เป็นต้น
การบริการของเรา
การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG : Electrocardiography)
เป็นการตรวจเพื่อดูสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง ด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวหนังบริเวณหน้าอกและบันทึกหรือแสดงบนจอภาพด้วยอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกร่างกาย - การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter monitor)
คือ เครื่องบันทึกการทำงานของหัวใจขนาดเล็ก เครื่องจะบันทึกคลื่นหัวใจเพื่อให้แพทย์นำมาวินิจฉัย มีประโยชน์ คือ- เพื่อติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ แต่ไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ทั่วไป
- เพื่อติดตามคลื่นหัวใจตลอด 24-48 ชั่วโมง ว่าเกิดคลื่นไฟฟ้าใดผิดปกติ
- เพื่อให้แพทย์ประเมินความถี่และความรุนแรงของการเกิดหัวใจเต้นผิดปกติขณะทำกิจวัตรประจำวัน
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
คือหลักการสะท้อนกลับของเสียงความถี่สูง เมื่อคลื่นเสียงความถี่ส่งผ่านอวัยวะต่างๆ จะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ ซึ่งแตกต่างกันระหว่างน้ำกับเนื้อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำเอาสัญญาณเหล่านี้มาสร้างภาพ ดังนั้น ภาพที่เห็นก็คือหัวใจของผู้ป่วย Echocardiogram จึงช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค ตรวจหาความรุนแรง ติดตามผลการรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะโรคหัวใจแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ
วิธีการตรวจ คือ การใช้หัวตรวจ ตรวจบริเวณผนังทรวงอกด้านนอก (transthoracic echocardiogram) วิธีค่อนข้างง่ายไม่เจ็บตัวไม่มีอันตรายใดๆ เมื่อตรวจเสร็จ สามารถทราบผลการตรวจได้ทันที
แพทย์ประจำศูนย์